หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
คำว่า
"นวัตกรรมฮิวส์ (Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า
เป็นการนำเอาวิธีการใหม่
มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว
และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมานวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป
แต่จะเป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ มอร์ตัน (Morton,1971) นอร์ดและทัคเคอร์
(" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "innovare"
ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา"
(สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ,2547)
ความหมายของเทคโนโลยี
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ
หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม
ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
สรุป
นวัตกรรม เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้
ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์
ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
โดยการใช้นวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศมาเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ
ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ
ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ
และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย
ข่าวสารต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น